ขั้นตอนการทำงานของระบบ Asset Management (Transaction)

ขั้นตอนการทำงานของระบบ Asset Management (Transaction)

Transaction

1.ขึ้นทะเบียนทรัพย์สิน (Asset Acquisition)

ขึ้นทะเบียนทรัพย์สินเป็น การนำทรัพย์สินที่ได้จากการซื้อขายทางธุรกิจหรือผลิตขึ้นภายในบริษัทมาทำการขึ้นทะเบียน และจะนำข้อมูลขึ้นทะเบียนทรัพย์สินไปทำการโพสต์ค่าเสื่อมในบัญชีแยกประเภท, การตรวจนับทรัพย์สิน, การโอน

  • Direct Acquisition ขึ้นทะเบียนโดยตรงที่ระบบงานทรัพย์สิน โดยการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินแบบ Direct Acquisition

การบันทึกการขึ้นทะเบียนทรัพย์สินมีขั้นตอนดังนี้

1.สามารถเข้าที่ระบบ Asset Management > Transaction >คลิกขึ้นทะเบียนทรัพย์สิน
 
2.จากนั้นโปรแกรมจะขึ้นหน้าต่าง “ขึ้นทะเบียนทรัพย์สิน“ ผู้ใช้กำหนด New และใส่รายละเอียดของผู้ใช้ให้ครบทำตามรูปภาพ
 
3.Basic Data เพื่อกำหนดรายละเอียดพื้นฐานขึ้นทะเบียนทรัพย์สิน ผู้ใช้กำหนดรายละเอียดของผู้ใช้ให้ครบทำตามรูปภาพ
 
4.Tab Additional  เพื่อกำหนดรายละเอียดค่าเริ่มต้นของข้อมูลแผนก รหัสที่ตั้ง  รหัสธุรกิจ ชื่อพนักงาน เป็นต้น
 
5.Tab Depre. Area เพื่อแสดงเขตการคิดค่าเสื่อม วิธีการคำนวณค่าเสื่อม อายุการใช้งานของทรัพย์สิน และวันที่คิดมูลค่า วันที่โพสต์ เป็นต้น
 
6.Tab Purchase Info  เพื่อกำหนดรายละเอียดเลขที่ใบกำกับภาษี เลขที่จ่ายชำระ
 
7.Tab Attachment สำหรับจัดเก็บไฟล์แนบ


2.การโอนทรัพย์สิน (Asset Transfer)

            การโอนทรัพย์สินเป็น หน้าต่างการโอนทรัพย์สิน โดยเป็นการโอนมูลค่าและปริมาณของทรัพย์สินไปยังหน่วยงานอื่น ในกรณีที่มีการขึ้นทะเบียนผิดประเภท, โอนเป็นทรัพย์สินใหม่, โอนเป็นทรัพย์สินย่อย (Sub Asset), โอนเพื่อซ่อมบำรุง,โอนออกเป็นส่วนย่อย ๆ (Split) และการรวมเป็นทรัพย์สินเดียวกัน

การโอนทรัพย์สินจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ

1.การโอนเป็นรหัสใหม่ คือ การโอนทรัพย์สินไปเป็นรหัสใหม่ ซึ่งสามารถโอนได้ทั้งหมด หรือบางส่วน

2.การโอนรหัสเดิม คือการโอนทรัพย์สินแต่ใช้รหัสเดิม ซึ่งสามารถโอนได้ทั้งหมดเท่านั้น กรณีนี้จะใช้เพื่อโอนย้ายหน่วยงาน ผู้ดูแล และที่ตั้ง

การบันทึกการโอนทรัพย์สินมีขั้นตอนดังนี้

1.ผู้ใช้เข้าระบบ Asset Management >Transaction> โอนทรัพย์สิน
 
2.จากนั้นโปรแกรมจะขึ้นหน้าต่าง “โอนทรัพย์สิน“ ผู้ใช้กำหนด New และใส่รายละเอียดของผู้ใช้ให้ครบทำตามรูปภาพ
 
3.Basic Data เพื่อกำหนดรายละเอียดพื้นฐานทรัพย์สิน ผู้ใช้กำหนดรายละเอียดของผู้ใช้ให้ครบทำตามรูปภาพ
 
4.Tab Additional  เพื่อกำหนดรายละเอียดค่าเริ่มต้นของข้อมูลแผนก รหัสที่ตั้ง ชื่อพนักงาน เป็นต้น


 
5.Tab Depre. Area เพื่อแสดงเขตการคิดค่าเสื่อมวิธีการคำนวณค่าเสื่อม อายุการใช้งานของทรัพย์สิน และวันที่คิดมูลค่า วันที่โพสต์ เป็นต้น

6.Tab Attachment  ใช้สำหรับกรณีต้องการแนบไฟล์เอกสาร

3.การตัดจำหน่ายทรัพย์สิน (Asset Retirement)

                การตัดจำหน่ายทรัพย์สินเป็น การลบรายการทรัพย์สินหรือทรัพย์สินบางส่วนออกจากรายการ การลบรายการทรัพย์สิน(หรือทรัพย์สินบางส่วน) เป็นการทำรายการทางฝั่งของบัญชีเป็นทรัพย์สินที่หมดอายุ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาขององค์กรหรือการทำธุรกรรมทางธุรกิจที่จะนำไปสู่การตัดจำหน่าย สามารถแบ่งประเภทของการตัดจำหน่ายทรัพย์สินได้ 2 ประเภท ดังนี้

1.การตัดจำหน่ายทรัพย์สินแบบไม่เกิดลูกหนี้ – สามารถตัดจำหน่ายทรัพย์สินพร้อมกับรอตั้งหนี้ลูกหนี้ โดยระบุรายละเอียดในการตัดขาย เพื่ออ้างอิงไปทำการหักล้างบัญชีภายหลังได้

2.การตัดจำหน่ายทรัพย์สินแบบจำหน่ายตัดซาก – การตัดจำหน่ายประเภทนี้จะเกิดขึ้นในกรณีที่ทรัพย์สินนั้น หมดอายุการใช้งาน ชำรุด ทิ้ง บริจาค สูญหาย ทำลาย หรือโอนย้ายไปยังบริษัทในเครือ เป็นต้น ซึ่งไม่ก่อให้เกิดรายได้ใดๆ

การบันทึกการตัดจำหน่ายทรัพย์สิน มีขั้นตอนดังนี้

1.ผู้ใช้เข้าระบบ Asset Management >Transaction>ตัดจำหน่ายทรัพย์สิน
 
2.จากนั้นโปรแกรมจะขึ้นหน้าต่าง “ตัดจำหน่ายทรัพย์สิน“ ผู้ใช้กำหนด New และใส่รายละเอียดของผู้ใช้ให้ครบทำตามรูปภาพ
 
3.Tab Basic Data  เพื่อกำหนดรายละเอียดพื้นฐานการตัดจำหน่ายทรัพย์สินผู้ใช้กำหนด New และใส่รายละเอียดของผู้ใช้ให้ครบทำตามรูปภาพ


4.Tab Additional เพื่อกำหนดรายละเอียดค่าเริ่มต้นของข้อมูลแผนก รหัสที่ตั้ง รหัสธุรกิจ ชื่อพนักงาน เป็นต้น
 
5.Tab Depre. Area เพื่อแสดงเขตการคิดค่าเสื่อม วิธีการคำนวณค่าเสื่อม อายุการใช้งานของทรัพย์สิน และวันที่คิดมูลค่า วันที่โพสต์ เป็นต้น
 
6.Tab Attachment ใช้สำหรับกรณีต้องการแนบไฟล์เอกสารให้กับหน้าจอการตัดจำหน่ายทรัพย์สิน

 

4.กลับรายการทรัพย์สิน (Asset Reversal)

                กลับรายการทรัพย์สิน เป็นการยกเลิกรายการลงบัญชีทรัพย์สิน กรณีที่มีการลงบัญชีผิดพลาด เช่น การใส่มูลค่าทรัพย์สินตอนขึ้นทะเบียนผิด การสร้างทรัพย์สินผิดประเภท การคิดค่าเสื่อมผิด เป็นต้น ซึ่งหากต้องการทำการแก้ไขข้อผิดพลาดเหล่านี้ จำเป็นจะต้องทำการกลับรายการบัญชีก่อน โดยการกลับรายการบัญชีจะมีผลตรงกันข้ามกับการบันทึกบัญชีทีทำก่อนหน้า  

การบันทึกกลับรายการทรัพย์สิน มีขั้นตอนการบันทึกดังนี้

1.สามารถเข้าที่ระบบ Asset Management > Transaction >กลับรายการทรัพย์สิน
 
2.จากนั้นโปรแกรมจะขึ้นหน้าต่าง “กลับรายการทรัพย์สิน“ ผู้ใช้กำหนด New และใส่รายละเอียดของผู้ใช้ให้ครบทำตามรูปภาพ
 
3.Tab Basic Data  เพื่อกำหนดรายละเอียดพื้นฐานการกลับรายการทรัพย์สินผู้ใช้กำหนด New และใส่รายละเอียดของผู้ใช้ให้ครบทำตามรูปภาพ
 
4.Tab Additional เพื่อกำหนดรายละเอียดค่าเริ่มต้นของข้อมูลแผนก รหัสที่ตั้ง  รหัสธุรกิจ ชื่อพนักงาน เป็นต้น
 
5.Tab Attachment ใช้สำหรับกรณีต้องการแนบไฟล์เอกสารให้กับหน้าจอการกลับรายการการทรัพย์สิน

 

5.ตรวจนับทรัพย์สิน (Asset Counting)

                ตรวจนับทรัพย์สินเป็น การตรวจนับทรัพย์สิน สำหรับบันทึกรายการเพื่อตรวจนับสินทรัพย์ และบันทึกยอดตามจริงที่ตรวจนับได้ เพื่อหาผลต่างของสินทรัพย์ที่มีอยู่ การตรวจสอบทรัพย์สินภายในองค์กรโดยการตรวจนับนั้นจะทำการแยกตรวจนับทรัพย์สินแยกตามองค์กรต่างๆภายในองค์กร การตรวจนับทรัพย์สินนั้นเพื่อตรวจสอบว่าภายในองค์กรนั้นมีทรัพย์สินครบตามจำนวนที่ได้ขึ้นทะเบียนทรัพย์สินไว้ และเมื่อมีการตรวจนับขึ้นมาแล้วข้อมูลที่ได้นั้นไม่ตรงตามจำนวนที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้นั้น ฯลฯ

วิธีบันทึกการตรวจนับทรัพย์สิน ยอดตามจริงที่ตรวจนับได้ เพื่อหาผลต่างของสินทรัพย์ที่มีอยู่ มีวิธีการบันทึกอย่างไร

1.สามารถเข้าที่ระบบ Asset Management > Transaction > คลิกตรวจนับทรัพย์สิน
  

2.จากนั้นโปรแกรมจะขึ้นหน้าต่าง “ตรวจนับทรัพย์สิน“ ผู้ใช้กำหนด New และใส่รายละเอียดของผู้ใช้ให้ครบทำตามรูปภาพ
 
3.Tab Basic Data เพื่อกำหนดรายละเอียดพื้นฐานตรวจนับทรัพย์สิน ผู้ใช้กำหนด New และใส่รายละเอียดของผู้ใช้ให้ครบทำตามรูปภาพ
 
5.Tab Additional  เพื่อกำหนดรายละเอียดค่าเริ่มต้นของข้อมูลแผนก รหัสที่ตั้ง ชื่อพนักงาน เป็นต้น

6.Tab Attachment  ใช้สำหรับกรณีต้องการแนบไฟล์เอกสารให้กับหน้าจอตรวจนับทรัพย์สิน


6.คำนวณค่าเสื่อมทรัพย์สิน Depreciation

                 คำนวณค่าเสื่อมทรัพย์สิน เป็นหน้าต่างสำหรับทำการคำนวณค่าเสื่อมของทรัพย์สินที่ทำการขึ้นทะเบียนในระบบขององค์กร โดยจะนำไปบันทึกลงในบัญชีค่าเสื่อมของแต่ละงวด การคำนวณค่าเสื่อมจะคำนวณตามเงื่อนไขการคำนวณค่าเสื่อมที่กำหนดในแต่ละทรัพย์สิน ได้แก่ วิธีการคำนวณ, อายุการใช้งาน, มูลค่าซาก ของแต่ละ Depreciation Area ซึ่งการคำนวณค่าเสื่อมจะนำไปโพสต์จริงตามงวดในบัญชี โดยสามารถเลือกประเภทการโพสต์ได้ ดังนี้

บันทึกการคำนวณค่าสื่อมทรัพย์สิน (หลังจากระบบคำนวณค่าเสื่อมเสร็จ) มีขึ้นตอนดังนี้

1.ผู้ใช้เข้าระบบ Asset Management > Transaction > คำนวณค่าเสื่อมทรัพย์สิน

2.เปิดหน้าต่าง คำนวณค่าเสื่อมทรัพย์สิน: Step 1 :เลือกช่วงเวลาสำหรับคิดค่าเสื่อมราคา
 
3.เปิดหน้าต่าง คำนวณค่าเสื่อมทรัพย์สิน  : Step 2 : ตรวจสอบทรัพย์สินสำหรับคำนวณค่าเสื่อม
 
4.เปิดหน้าต่าง คำนวณค่าเสื่อมทรัพย์สิน  : Step 3 : แสดงรายการบันทึกการคิดค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน
 
5.เมื่อคลิก Next จะมีข้อความแจ้งก่อน

6. จากนั้น คลิกปุ่ม Next ใน Step3 เพื่อบันทึกการเอกสารการคำนวณค่าเสื่อม ระบบจะแสดง Step4 : ผลลัพธ์การบันทึกการคิดค่าเสื่อม

 

7.ประวัติการคำนวณค่าเสื่อมทรัพย์สิน Depreciation Log

          ประวัติการคำนวณค่าเสื่อมทรัพย์สิน เป็นหน้าต่างสำหรับดูประวัติของการคำนวณค่าเสื่อมทรัพย์สินที่เกิดขึ้นในแต่ละงวดบัญชี ซึ่งสามารถกรองดูตามบริษัท และสาขาที่เลือกได้

วิธีการตรวจสอบประวัติของการคำนวณค่าเสื่อมทรัพย์สิน มีขั้นตอนดังนี้

1.สามารถเข้าที่ระบบ Asset Management > Transaction >ประวัติการคำนวณค่าเสื่อมทรัพย์สิน

2.หน้าต่าง ประวัติการคำนวณค่าเสื่อมทรัพย์สิน:ผู้ใช้เลือกรายการงวดที่และคลิกค้นหารายการของงวดที่ 11 จะขึ้นมาให้ตามตัวอย่าง Depre.Area 01



8.กลับรายการค่าเสื่อมทรัพย์สิน (Depreciation Reversal)

                 กลับรายการของค่าเสื่อมทรัพย์สิน เป็นหน้าต่างสำหรับกลับรายการของค่าเสื่อมทรัพย์สิน เมื่อมีการโพสค่าเสื่อมทรัพย์สินลง GL แล้ว แต่ข้อมูลที่โพสนั้นเกิดผิดพลาด ดังนั้นผู้ใช้จะสามารถทำการกลับรายการของค่าเสื่อมทรัพย์สินได้

วิธีการบันทึกกลับรายการค่าเสื่อมทรัพย์สินเมื่อมีการโพสค่าเสื่อมทรัพย์สินลง GL มีขั้นตอนดังนี้

1.สามารถเข้าที่ระบบ Asset Management > Transaction >กลับรายการค่าเสื่อม


2.จากนั้นโปรแกรมจะขึ้นหน้าต่าง “กลับรายการค่าเสื่อมทรัพย์สิน“ ผู้ใช้กำหนด New และใส่รายละเอียดของผู้ใช้ให้ครบทำตามรูปภาพ
 
3.Tab Basic Data เพื่อกำหนดรายละเอียดพื้นฐานกลับรายการของค่าเสื่อมทรัพย์สิน ผู้ใช้กำหนดรายละเอียดของผู้ใช้ให้ครบทำตามรูปภาพ
 
 
4.Tab Additional  เพื่อกำหนดรายละเอียดค่าเริ่มต้นของข้อมูลแผนก รหัสที่ตั้ง ชื่อพนักงาน เป็นต้น
 
5.Tab Attachment  ใช้สำหรับกรณีต้องการแนบไฟล์เอกสาร


 23
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์